หลักการใช้ภาษา
ภาษาประกอบด้วยหน่วยในภาษา
หน่วยในภาษาหมายถึง ส่วนประกอบของภาษา หน่วยในภาษาที่เล็กที่สุดได้แก่ หน่วยเสียงคำว่า "หน่วยเสียง" ในที่นี้เป็นศัพท์วิชากร คำว่าเสียง เป็นคำที่ใช้ทั่วๆไป ไม่ใช่ศัพท์วิชาการ นักเรียนควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเสียงและหน่วยเสียงก่อน
เสียงกับหน่วยเสียง
คำว่าเสียงกับหน่วยเสียง มีความหมายแตกต่างกัน
เสียง เป็นสิ่ที่เรารับรู้ด้วยการฟัง อาจเป็นเสียงสุนัขเห่า เสียงสั่นกระดิ่ง
หน่วยเสียง เป็นหน่วยระบบของเสียงในภาษาแต่ละภาษา แม้ผู้พูดแต่ละคนจะสามารถเปล่งเสียงต่างๆได้มากมาย แต่เสียงที่จะใช้สื่อสารในแต่ละภาษามีจำนวนจำกัด คนไทยมีความสามารถในการเปล่งเสียงไม่ด้อยกว่าชาติอื่น แต่เสียงในระบบเสียงภาษาไทย หรืแ ที่เรียกว่าหน่วยเสียงมีอยู่เพียงจำนวนหนึาง เป็นเสียงที่มีความสำคัญ ทำให้มีความหมายต่างกัน
การประกอบหน่วยเสียงเป็นพยางค์และคำ
สมมุติว่าภาษาไทยของเรามีหน่วยเสียงพยัญชนะเพียง 3 หน่วย คือ ก ว ง มีหน่วยเสียงสระเพีย 2 หน่วยคืออา อี มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์เพียงหน่วยเดียวคือหน่วยสามัญ หน่วยเสียดังกล่าวจะประกอบกันเป็นพยางค์ได้มาก เช่น กา งา กาว
พยางค์ข้างต้นล้วนมีความหมาย ถือได้ว่าเป็นคำ นอกจากคำยังมีพยางค์ที่เกิดจากการประกอบหน่วยเสียงข้างต้นอีกมาก
ข้อจำกัดเกี่ยวกับการนำหน่วยเสียงมาประกอบกับพยางค์อย่บ้างเช่น
ถ้าพยัญชนะต้นเป็นพยัญชนะที่ออกเสียงควบกล้ำกัน พยัญชนะที่ 1 และเสียงที่ 2 จะเรียงต่อกันได้เพียง 11 แบบ คือ กร กล กว คร คล คว ตร ปร ปล พร พล เรามีพยางค์ พรู พลู แต่ไม่มีพยางค์ พวู มีพยางค์ ตรู ครู แต่ไม่มีพยางค์ จรู ชรู ฯลฯ
ถ้าวรรณยุกต์เป็นวรรณยุกต์สามัญ หรือวรรณยุกต์จัตวา มักไม่ปรากฎในพยางค์ตายหรือที่บางตำราเรีบกว่าคำตาย พยางค์ตายจะผันวรรณยุกต์ได้เพียง 3 เสียง คือวรรณยุกต์เอก วรรณยุกต์โท วรรณยุกต์ตรี ต่างกับพยางค์เป็นที่ผันได้ทั้ง 5 เสียง
ลองเปรียบเทียบตัวอย่างที่ 1 กับตัวอย่างที่ 2
1. กาง ก่าง ก้าง ก๊าง ก๋าง
2. กาก ก้าก ก๊าก
ตัวอย่างที่ 1 กาง เป็นพยางค์เป็น ผันวรรณยุกต์ได้ 5 เสียง ส่วนตัวอย่างที่ 2 กากเป็นพยางค์ตาย ผันวรรณยุกต์ได้ 3 เสียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น